มาเลเซีย มีพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรทั่วประเทศประมาณ 32.96 ล้านเฮกตาร์ (รวมพื้นที่บนคาบสมุทร รัฐซาบา และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว) ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา โกโก้ และมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญของประเทศ พื้นที่อีกประมาณ ร้อยละ 10 ใช้ในการเพาะปลูกข้าวและอีกร้อยละ 10 ที่เหลือใช้ในการทำการเกษตรอื่น เช่น สวนผัก สวนผลไม้ เป็นต้น
มาเลเซีย ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ผลไม้ที่ผลิตได้จึงเป็นผลไม้เมืองร้อนทั้งที่ไม่เป็นฤดูกาล เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง มะเฟือง แตงโม และมะม่วงบางชนิด และที่ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ ลางสาด ดูกู(ลองกอง) และมังคุด ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี และจะมีน้อยในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ของปี
ผลไม้หลักที่รัฐบาลมาเลเซียให้การส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกเพื่อการส่งออก และทดแทนการนำเข้า ได้แก่ ทุเรียน มะม่วง เงาะ มังคุด และสับปะรด
พันธุ์ที่ปลูกและคุณภาพการผลิต
ทุเรียน การเพาะปลูกทุเรียนในมาเลเซียมีพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ
7 ชนิด คือ
1. พันธุ์ D24
2. พันธุ์ D99 (กบ)
3. พันธุ์ D123 (ชะนี)
4. พันธุ์ D145 (Berserah Durian/Mek Durian/Green Durian)
5. พันธุ์ D158 (ก้านยาว)
6. พันธุ์ D159 (หมอนทอง)
7. พันธุ์ D
มังคุด การเพาะปลูกมังคุดมี 2 ชนิด คือ พันธุ์ จีเอ1 และพันธุ์ จีเอ2
เงาะ การเพาะปลูกเงาะมีอยู่ 7 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์ R134
2. พันธุ์ R156
3. พันธุ์ R162
4. พันธุ์ R167
5. พันธุ์ R170
6. พันธุ์ R191
7. พันธ์ R193
สับปะรด การเพาะปลูกสับปะรดมี 3 พันธุ์ คือ
1. Sarawak
2. Gandol
3. Mauritius
ต้นทุนการผลิต
ทุเรียน(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 90,000
(คิดจากพันธุ์ D24 ที่นิยมปลูกมากที่สุด)
มังคุด(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 88,154
เงาะ(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 56,356
สับปะรด(ตลอดเวลา 28 เดือน) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 6,900
การส่งออก
ในระยะช่วงที่ผ่านมา มาเลเซียส่งออกผลไม้สดไปต่างประเทศลดลง โดยปี 2550 ส่งออก 76.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 80.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 4.88 ผลไม้ที่ส่งออกหลัก ได้แก่ มะละกอ ทุเรียน สับปะรด กล้วย โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์
การนำเข้า
มาเลเซียนอกจากเป็นประเทศผู้ส่งออกผลไม้สดไปจำหน่ายยังต่างประเทศแล้ว ยังเป็นประเทศผู้นำเข้าจากต่างประเทศด้วย มูลค่าการนำเข้านั้นก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปี กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าปี 2550 เท่ากับ 176.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 144.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 22.29 ผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่นั้นเป็นผลไม้เมืองหนาวที่มาเลเซียผลิตเองไม่ได้ ซึ่งได้แก่ แอปเปิ้ล ส้มซันควิส แพร์ พีช พรุน องุ่น ประเทศนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย ตามลำดับ
สำหรับผลไม้เมืองร้อนที่นำเข้าสำคัญของประเทศมาเลเซีย เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด สับปะรด นั้นมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าปี 2550 เท่ากับ 22.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 16.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 35.15 ทุกปี เช่นเดียวกัน โดยผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย
รสนิยมการบริโภค ราคาจำหน่ายปลีก และช่วงเวลาการนำเข้า
โดยปกติคนมาเลเซียนิยมบริโภคผลไม้สดที่มีรสอมหวาน ไม่ชอบผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การบริโภคผลไม้บางอย่างจะแตกต่างจากไทย เช่น ทุเรียนนิยมรับประทานสุกเต็มที่ รสหวานจัดออกขมเล็กน้อย ไม่นิยมรับประทานทุเรียนกับข้าวเหนียว
คนมาเลเซียมักจะเป็นคนพิถีพิถันในการจับจ่ายใช้สอย การซื้อสินค้าจะพิจารณาราคาและคุณภาพควบคู่กันไป เชื่อว่าผลไม้ไทยจะมีลู่ทางการตลาดดีได้
ช่วงเวลานำเข้าและราคาขายปลีกผลไม้ไทยที่สำคัญมีดังนี้
ทุเรียน พันธุ์ชะนี นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 3.50-5.0 RM/Kg
พันธุ์กะดง นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 3.50-5.0 RM/Kg
พันธุ์โพธิ์มณี นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 5.0 RM/Kg
พันธุ์ก้านยาว นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 7.0 RM/Kg
ลำไยนำเข้าในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน
ขนาดเล็ก ราคาขายปลีก 4.5 RM/Kg
ขนาดใหญ่ ราคาขายปลีก 5.00-6.00 RM/Kg
เงาะ นำเข้าในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ราคาขายปลีก 5.50 RM/Kg
มังคุด นำเข้าในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ราคาขายปลีก 5.90 RM/Kg
มาตรการนำเข้า อัตราภาษี ข้อกีดกันทางการค้า
สำหรับ การนำเข้าผลไม้สดจากต่างประเทศของประเทศมาเลเซียนั้น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และเมื่อผลไม้มาถึงมาเลเซียแล้วเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียจะ ดำเนินการตรวจสอบสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติ Food Act อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผลไม้สดที่มีปริมาณสารตกค้างทั้งที่ผิวเปลือกและของ เนื้อไม้ ฉะนั้นผู้ส่งออกควรระมัดระวังเรื่องสารเคมีตกค้างที่มากเกินไปจนทำ ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะหากมีการตรวจพบ จะไม่ให้นำเข้าสู่ตลาดมาเลเซียอีกเลย
อัตราภาษีการนำเข้าสำหรับประเทศอาเซียนสามารถแจกแจงได้ดังนี้
ทุเรียน ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 20% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
เงาะ ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 70% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
สับปะรด ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 80% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
มังคุด ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 40% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
โอกาสทางการค้าของไทย
ผลไม้ไทยเป็นที่นิยมของชาวมาเลเซีย แต่เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียยังคงเก็บภาษีการขายและภาษีนำเข้าทำให้ต้นทุนของ สินค้าสูงขึ้นมีผลต่อราคาที่สูงกว่าผลไม้ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามราคาเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชาวมาเลเซียตัดสินใจ ไม่เลือกซื้อผลไม้ไทย เนื่องจากชาวมาเลเซียมีระดับรายได้เฉลี่ยสูงกว่าคนไทยเกือบเท่าตัว ดังนั้น หากมีการวางแผนระยะยาวและทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภค รับรู้และเห็นความแตกต่างระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการอาศัยประโยชน์จากราคาที่สูงกว่าเป็นการสร้างภาพลักษณะและแบ่ง ชั้นระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่นอย่างชัดเจน รวมทั้งในระยะยาวอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนรสนิยมของผู้บริโภคให้หันมารับ ประทานผลไม้ไทยมากขึ้น
ที่มา http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538721019&Ntype=11