การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ แบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจ เปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1.การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2.ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3.ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4.ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ใน ประเทศอย่างเหมาะสม
การตลาดระหว่างประเทศประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ แบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจ เปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1.การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2.ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3.ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4.ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ใน ประเทศอย่างเหมาะสม
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด(Product,Price,Place and Promotion)ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาด ระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัย ต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาด
สรุปความแตกต่างระหว่างการค้ากับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศนั้นเป็นการกระจายสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศออกสู่ประเทศต่างๆไม่มีทรัพยากรที่สามารถผลิตได้เหมือนกับประเทศของเราทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและยอมรับ ถ้าไม่นำออกไปขายจะทำให้มาตรฐานในการของชีพนั้นต่ำลง เพราะในแต่ละประเทศก็จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกันไปความต้องการก็แตกต่างกันด้วย ส่วนการตลาดระหว่างประเทศนั้นจะเน้นที่ธุรกิจการค้าที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้าโดยเป้าหมายจะเป็นการหาตลาดใหม่และส่วนแบ่งทางการตลาด จุดมุ่งหมายคือเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ การที่จะสามารถประสบความสำเร็จกับการตลาดระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนจะต้องใช้กลยุทธ์ให้ความพึงพอใจกับตลาดกับผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง
ที่มาข้อมูล
ที่มาข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น