วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

S W O T การส่งออกผลไม้ของประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่น


จุดแข็ง
~ สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่งทางการค้า
~ คุณภาพของสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
~ มีรูปร่างและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์
จุดอ่อน
~ การเก็บรักษาในขณะรอส่งผลิตภัณฑ์ เพราะผลไม้มีการเน่าเสียง่ายถ้าหากเก็บไว้ไม่ดี
~ สืบเนื่องมาจากต้นทุนค่าขนส่งที่สูง ส่งผลให้ราคาผลไม้มีราคาจำหน่ายสูง
~ ในญี่ปุ่น ผลไม้ไทยถูกจัดให้เป็นผลไม้ที่รับประทานในหน้าร้อน ดังนั้นระยะ เวลาในการขายจึงสั้นมาก
~ ขาดความเชื่อมั่นในผลไม้ประเทศไทย
โอกาส
~ ประชากรญี่ปุ่น 126 ล้านคน มีรายได้สูง และ 20% ของรายได้ของครัวเรือน ใช้จ่ายไปกับการบริโภคอาหาร เมื่อประชากรมีอายุสูงขึ้นจะใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
~ ผลไม้ไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
~ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่บริโภคผลไม้เป็นจำนวนมาก
อุปสรรค
~ สิทธิ์ในการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
~ คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
~ คู่แข่งขันจาก จีน เกาหลีใต้ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำและอยู่ใกล้ญี่ปุ่น

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตลาดผลไม้สดในประเทศมาเลเซีย


            มาเลเซีย มีพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรทั่วประเทศประมาณ 32.96 ล้านเฮกตาร์ (รวมพื้นที่บนคาบสมุทร รัฐซาบา และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว) ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา โกโก้ และมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญของประเทศ พื้นที่อีกประมาณ ร้อยละ 10 ใช้ในการเพาะปลูกข้าวและอีกร้อยละ 10 ที่เหลือใช้ในการทำการเกษตรอื่น เช่น สวนผัก สวนผลไม้ เป็นต้น
            มาเลเซีย ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ผลไม้ที่ผลิตได้จึงเป็นผลไม้เมืองร้อนทั้งที่ไม่เป็นฤดูกาล เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด ฝรั่ง มะเฟือง แตงโม และมะม่วงบางชนิด และที่ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ ลางสาด ดูกู(ลองกอง) และมังคุด ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี และจะมีน้อยในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ของปี
            ผลไม้หลักที่รัฐบาลมาเลเซียให้การส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกเพื่อการส่งออก และทดแทนการนำเข้า ได้แก่ ทุเรียน มะม่วง เงาะ มังคุด และสับปะรด

พันธุ์ที่ปลูกและคุณภาพการผลิต
ทุเรียน การเพาะปลูกทุเรียนในมาเลเซียมีพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ
7 ชนิด คือ
1. พันธุ์ D24 
2. พันธุ์ D99 (กบ)
3. พันธุ์ D123 (ชะนี)
4. พันธุ์ D145 (Berserah Durian/Mek Durian/Green Durian)
5. พันธุ์ D158 (ก้านยาว)
6. พันธุ์ D159 (หมอนทอง)
7. พันธุ์ D 
มังคุด การเพาะปลูกมังคุดมี 2 ชนิด คือ พันธุ์ จีเอ1 และพันธุ์ จีเอ2
เงาะ  การเพาะปลูกเงาะมีอยู่ 7 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์ R134
2. พันธุ์ R156
3. พันธุ์ R162
4. พันธุ์ R167
5. พันธุ์ R170
6. พันธุ์ R191
7. พันธ์ R193
สับปะรด   การเพาะปลูกสับปะรดมี 3 พันธุ์ คือ
1. Sarawak
2. Gandol
3. Mauritius

ต้นทุนการผลิต
ทุเรียน(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 90,000  
(คิดจากพันธุ์ D24 ที่นิยมปลูกมากที่สุด)
มังคุด(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 88,154
เงาะ(ตลอดเวลา 25 ปี) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 56,356 
สับปะรด(ตลอดเวลา 28 เดือน) ต้นทุนการผลิตรวมต่อเฮกตาร์อยู่ที่ RM 6,900 
การส่งออก
            ในระยะช่วงที่ผ่านมา มาเลเซียส่งออกผลไม้สดไปต่างประเทศลดลง โดยปี 2550 ส่งออก 76.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 80.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 4.88 ผลไม้ที่ส่งออกหลัก ได้แก่ มะละกอ ทุเรียน สับปะรด กล้วย โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์
การนำเข้า
            มาเลเซียนอกจากเป็นประเทศผู้ส่งออกผลไม้สดไปจำหน่ายยังต่างประเทศแล้ว ยังเป็นประเทศผู้นำเข้าจากต่างประเทศด้วย มูลค่าการนำเข้านั้นก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปี กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าปี 2550 เท่ากับ 176.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 144.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 22.29 ผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่นั้นเป็นผลไม้เมืองหนาวที่มาเลเซียผลิตเองไม่ได้ ซึ่งได้แก่ แอปเปิ้ล ส้มซันควิส แพร์ พีช พรุน องุ่น ประเทศนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย ตามลำดับ
            สำหรับผลไม้เมืองร้อนที่นำเข้าสำคัญของประเทศมาเลเซีย เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด สับปะรด นั้นมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าปี 2550 เท่ากับ 22.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งมีมูลค่า 16.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 35.15 ทุกปี เช่นเดียวกัน โดยผลไม้ที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย
รสนิยมการบริโภค ราคาจำหน่ายปลีก และช่วงเวลาการนำเข้า
            โดยปกติคนมาเลเซียนิยมบริโภคผลไม้สดที่มีรสอมหวาน ไม่ชอบผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การบริโภคผลไม้บางอย่างจะแตกต่างจากไทย เช่น ทุเรียนนิยมรับประทานสุกเต็มที่ รสหวานจัดออกขมเล็กน้อย ไม่นิยมรับประทานทุเรียนกับข้าวเหนียว
            คนมาเลเซียมักจะเป็นคนพิถีพิถันในการจับจ่ายใช้สอย การซื้อสินค้าจะพิจารณาราคาและคุณภาพควบคู่กันไป เชื่อว่าผลไม้ไทยจะมีลู่ทางการตลาดดีได้
ช่วงเวลานำเข้าและราคาขายปลีกผลไม้ไทยที่สำคัญมีดังนี้
ทุเรียน พันธุ์ชะนี นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 3.50-5.0 RM/Kg
พันธุ์กะดง นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 3.50-5.0 RM/Kg
พันธุ์โพธิ์มณี นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 5.0 RM/Kg
พันธุ์ก้านยาว นำเข้าในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม
ราคาขายปลีก 7.0 RM/Kg
ลำไยนำเข้าในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน
ขนาดเล็ก   ราคาขายปลีก 4.5 RM/Kg
ขนาดใหญ่ ราคาขายปลีก 5.00-6.00  RM/Kg
เงาะ  นำเข้าในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ราคาขายปลีก 5.50 RM/Kg
มังคุด นำเข้าในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ราคาขายปลีก 5.90 RM/Kg
มาตรการนำเข้า อัตราภาษี ข้อกีดกันทางการค้า
                    สำหรับ การนำเข้าผลไม้สดจากต่างประเทศของประเทศมาเลเซียนั้น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และเมื่อผลไม้มาถึงมาเลเซียแล้วเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียจะ ดำเนินการตรวจสอบสารเคมีตกค้างตามพระราชบัญญัติ Food Act อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผลไม้สดที่มีปริมาณสารตกค้างทั้งที่ผิวเปลือกและของ เนื้อไม้ ฉะนั้นผู้ส่งออกควรระมัดระวังเรื่องสารเคมีตกค้างที่มากเกินไปจนทำ ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะหากมีการตรวจพบ จะไม่ให้นำเข้าสู่ตลาดมาเลเซียอีกเลย
            อัตราภาษีการนำเข้าสำหรับประเทศอาเซียนสามารถแจกแจงได้ดังนี้
ทุเรียน ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 20% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
เงาะ ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 70% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
สับปะรด ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 80% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
มังคุด ภาษีขาย 5% อัตราภาษี CEPT 40% ของมูลค่าการนำเข้า (C.I.F)
โอกาสทางการค้าของไทย
            ผลไม้ไทยเป็นที่นิยมของชาวมาเลเซีย แต่เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียยังคงเก็บภาษีการขายและภาษีนำเข้าทำให้ต้นทุนของ สินค้าสูงขึ้นมีผลต่อราคาที่สูงกว่าผลไม้ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามราคาเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชาวมาเลเซียตัดสินใจ ไม่เลือกซื้อผลไม้ไทย เนื่องจากชาวมาเลเซียมีระดับรายได้เฉลี่ยสูงกว่าคนไทยเกือบเท่าตัว ดังนั้น หากมีการวางแผนระยะยาวและทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภค รับรู้และเห็นความแตกต่างระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการอาศัยประโยชน์จากราคาที่สูงกว่าเป็นการสร้างภาพลักษณะและแบ่ง ชั้นระหว่างผลไม้ไทยและผลไม้ท้องถิ่นอย่างชัดเจน รวมทั้งในระยะยาวอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนรสนิยมของผู้บริโภคให้หันมารับ ประทานผลไม้ไทยมากขึ้น

ที่มา http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538721019&Ntype=11
 

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำอาหารญี่ปุ่น

          ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหาร ของคนญี่ปุ่น และซูชิก็ไม่น่าจะใช่อาหารญี่ปุ่นแท้ๆด้วยเชื่อกันว่าน่าจะนำเข้าจากเมือง จีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7เนื่องจากมีเอกสารโบราณเก่าแก่ของจีนกล่าวถึงอาหารประเภทที่มีหน้าตาเหมือน กับซูชินี้เอาไว้ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาหารดังกล่าวเป็นปลาเค็มที่ใช้ข้าวเป็นตัวหมักจะนำมากินก็ต่อเมื่อปลาได้ ที่แล้ว และกินเฉพาะแต่ปลาเท่านั้นส่วนข้าวนั้นเอาไปทิ้ง
      ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น     




วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้ากับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่ง ออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
     ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ แบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจ เปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   1.การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   2.ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   3.ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   4.ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ใน ประเทศอย่างเหมาะสม
การตลาดระหว่างประเทศ
     การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด(Product,Price,Place and Promotion)ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาด ระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัย ต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาด
 สรุปความแตกต่างระหว่างการค้ากับการตลาดระหว่างประเทศ
     การค้าระหว่างประเทศนั้นเป็นการกระจายสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศออกสู่ประเทศต่างๆไม่มีทรัพยากรที่สามารถผลิตได้เหมือนกับประเทศของเราทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและยอมรับ ถ้าไม่นำออกไปขายจะทำให้มาตรฐานในการของชีพนั้นต่ำลง เพราะในแต่ละประเทศก็จะมีทรัพยากรที่แตกต่างกันไปความต้องการก็แตกต่างกันด้วย ส่วนการตลาดระหว่างประเทศนั้นจะเน้นที่ธุรกิจการค้าที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้าโดยเป้าหมายจะเป็นการหาตลาดใหม่และส่วนแบ่งทางการตลาด จุดมุ่งหมายคือเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ การที่จะสามารถประสบความสำเร็จกับการตลาดระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนจะต้องใช้กลยุทธ์ให้ความพึงพอใจกับตลาดกับผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง

ที่มาข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

         การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เป็นหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรบุคคล เนื่องจากการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานเป็นงานที่มีความสำคัญแต่ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานขององค์กร ดังนั้นขั้นตอนและวิธีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง มีหลักเกณฑ์และยุติธรรม เพื่อให้ได้บุคลากร ที่มีความเหมาะสมกับงานที่องค์กรต้องการมากที่สุดเข้ามาร่วมงาน
          การสรรหาบุคลากร (Recruitment) หมายถึง กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่องค์กรต้องการจากแหล่งต่างๆ ให้สนใจสมัครเข้าร่วมงานกับองค์กร โดยผู้มีหน้าที่ในการสรรหาบุคลากรจะต้องเข้าถึงแหล่งที่มาของบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพเหมาะสมกับงานให้เกิดความสนใจที่จะร่วมงานกับองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้ข้อจำกัดของระยะเวลาและค่าใช้จ่าย

โดยทั่วไปธุรกิจ SMEs จะทำการสรรหาพนักงานก็ต่อเมื่อ
• มีพนักงานลาออก
• ปริมาณงานเพิ่มขึ้น (Order เข้ามามาก)
• ตามคำร้องขอจากสายงานการผลิต หรือสายงานหลัก
• ต้องการขยายธุรกิจ
• ต้องการเพิ่มยอดขาย
• งานไม่ได้คุณภาพ (คิดว่าคนเก่าไม่เก่ง รับคนใหม่มาเพิ่ม)
• ต้องการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ

รูปแบบการสรรหาพนักงานในอินเตอร์เน็ต [http://www.jobpub.com/job_files/95481.htm]

การวางแผนในการสรรหา (Recruitment Planning)
หลังจากที่องค์กรมีความต้องการกำลังคน และได้มีการวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนแล้วในการที่จะสรรหาบุคคลมาแทนในตำแหน่งที่ว่าง หรือมีทดแทนอัตรากำลังคนเนื่องจากมีการขยายหน่วยงานออกไป หรือปริมาณงานเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสรรหาบุคคล จะต้องวางแผนการสรรหาบุคคล โดยมีการพิจารณาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการสรรหาที่จะเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้สามารถสื่อข้อความไปถึงกลุ่มบุคคลที่บริษัทต้องการได้โดยตรงมากที่สุด นอกจากการวางแผนการสรรหาแล้วยังรวมความไปถึงการพิจารณาไปถึงแหล่งที่จะไปทำการสรรหาอีกด้วยโดยทั่วไปการสรรหาบุคลากรมักถูกพิจารณาเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือ องค์กรสรรหาบุคลากรที่ต้องการ แต่ในทางปฏิบัติผู้สมัครก็จะสรรหาองค์กรที่ผู้สมัครต้องการด้วยเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวนี้ต้องอยู่ภายใต้สภาพการณ์,เวลาที่เหมาะสมและตรงกันระหว่างบริษัทและผู้สมัครด้วย

ที่มา http://apecibiz.dip.go.th/resource/3/hr_chap4.pdf
[Ps.ฝากผลงานไว้ด้วยนะครับ วงToffeeCake Band เพลงToffeeCake Radio]

เพียงรัก - Toffee Cake Band (Cover)